วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผู้จัดทำ

   ผู้จัดทำ



                                                           นางสาวมาศสุภา  สุขเกษม 
                                                      06550044 วิชาเอก ภาษาอังกฤษ

16. ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

        สุภาพร แพรวพนิต ได้เสนอว่า ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้
1)       ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2)       ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร
3)       ปัญหาการจัดอบรมครู
4)       ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5)       ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
6)       ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7)       ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ
การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
1.               พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้  (เครือข่ายวิชาการ  วิชาชีพ)
2.               พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development): จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่อง
3.               รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น  เช่น  หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ  หลักสูตรฝึกอบรม
4.               เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
5.               มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ
6.               มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น  โดยการใช้เทคโนโลยีต้องไม่ส่งผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 
7.               หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด  การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  และความสามารถในการสื่อสาร  พัฒนาคนให้คิดกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้
8.               ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล  นานาชาติ และของไทย  ต้องรู้เขารู้เรา
9.               พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง 60 % ส่วนท้องถิ่น  40  %
10.         จัดการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
11.         จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ


นอกจากนี้ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กล่าวถึงแนวโน้มเกี่ยวกับหลักสูตรในอนาคต ดังนี้
แนวโน้มด้านบวก
1.               หลักสูตรใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก จากการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้คนในสังคมต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงหันมาสนใจศึกษาต่อในหลักสูตรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในสังคมสถาบันการศึกษาจึงมุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการการศึกษาที่เป็นภาษาสากลมีมากขึ้น ที่สำคัญการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้เรียนที่มีฐานะดี
2.               การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น สภาพโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ กฎกติกา การดำเนินการด้านต่าง ๆ ทั้งการค้า การลงทุน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เชื่อมต่อถึงกันได้ ส่งผลให้เกิดความต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมในระดับสากล
3.               ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง การใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนการสอน ทำให้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงคนได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยอาจเข้ารับบริการทางการศึกษาได้ลดลง เนื่องจากค่าเล่าเรียนแพง
4.               โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเปิดเสรีทางการศึกษา จะก่อเกิดการแข่งขันในการจัดการศึกษาทั้งจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น
5.               แนวโน้มด้านลบ
6.               การเพิ่มช่องว่างด้านคุณภาพในการจัดการศึกษา ทรัพยากรตั้งต้นของแต่ละสถาบันการศึกษามีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถและปริมาณของบุคลากรการศึกษา งบประมาณ เงินทุน เทคโนโลยี สถานที่ ความมีชื่อเสียง ฯลฯ ส่งผลให้โอกาสพัฒนาคุณภาพการศึกษาย่อมแตกต่างกันด้วย
7.               การผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของตลาด เนื่องจากความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีสูงขึ้น และการพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ต้องหาเลี้ยงตนเอง มีอิสระในการบริหารและเปิดหลักสูตรเพื่อหาผู้เรียนเข้าเรียนให้ได้จำนวนมาก
8.               การสอนทักษะการคิดและทักษะทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนได้เท่าที่ควร เนื่องจากการเรียนการสอนยังมุ่งสอนให้ผู้เรียนคิดตามสิ่งที่ผู้สอนป้อนความรู้มากกว่าการคิดสิ่งใหม่ ๆ ประกอบกับครูผู้สอนมีภาระงานมาก จนส่งผลต่อการพัฒนาบุคคลในด้านอื่น
9.               การสอนคุณธรรมจริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งแข่งขัน เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม

10.         การสอนภาษาต่างประเทศยังไม่มีคุณภาพ  การสอนภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศของไทยยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร เนื่องจากครูผู้สอนมีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศค่อนข้างต่ำ 

15. การประเมินผลหลักสูตร : แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ (ต่อ)

การประเมินหลักสูตร มี 3 ระยะ ดังนี้
1.       การประเมินหลลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้
เพื่อทบทวนว่าหลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีคุณค่า แล้วจึงพิจารณาความพร้อมในการนำหลักสูตรไปใช้ จากเอกสาร สื่อและอุปกรณ์ โดนมีขั้นตอนดังนี้
1)        กำหนดจุดมุ่งหมายการประเมินหลักสูตร
2)        วางแผนดำเนินการประเมิน
3)        ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง
4)        ประเมินผลจากการทดลองใช้ และนำผลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงหลักสูตรก่อนนำไปใช้จริง
2.       การประเมินหลักสูตรระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร
ให้ความสำคัญกับ ระบบบริหารจัดการหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน โดยศึกษาข้อมูลจากการวางแผนการประเมินก่อนการใช้หลักสูตร เพื่อจัดระบบบริหารจัดการหลักสูตร รวมถึงนิเทศกำกับติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร วิชัย วงศ์ใหญ่ เสนอแนวคิดการประเมินไว้ ดังนี้
1)       การประเมินระบบบริหารและการจัดการหลักสูตร
2)       การประเมินการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3)       การประเมินระบบบริหารและวิธีการนิเทศกำกับดูแล
3.       การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้
เป็นการประเมินระบบหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อน โดยจะประเมินทุกๆองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างละเอียด ทั้งนี้เพื่อประเมินว่าหลักสูตรดีจริง สามารถนำไปใช้ได้จริง มีข้อผิดพลาดและต้องแก้ไข ถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมและสมบูรณ์มากที่สุด

แบบจำลองในการประเมินหลักสูตร
      แบบจำลองการประเมินแบบ CIPP
        สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam, 1985) ได้เสนอแนวทางการประเมินโครงการ เพื่อการตัดสินใจดำเนินการ หรือยุติโครงการ โดยแบ่งออกเป็นประเด็น ดังต่อไปนี้
1)       การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation: C)
พิจารณา หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ การกำหนดประเด็นปัญญา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ
2)       การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I)
พิจารณาการเลือกแผนงาน โครงการ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและความพอเพียงของทรัพยากร
3)       การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P)
พิจารณาข้อดีและข้อด้อย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขและปรับปรุง เป็นการตรวจสอบกิจกรรม โครงการ ทรัพยากรที่ใช้ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของโครงการ โดยมีการบันทึกเป็นหลักฐานในทุกขั้นตอน
4)       กาประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P)
พิจารณาเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น






14. การประเมินผลหลักสูตร : แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ

การประเมินหลักสูตร
จากคำถามของไทเลอร์ข้อที่ 4 คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์การเรียนรู้ทำอย่างไร นำไปสู่แนวคิดความคิดเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรว่า เป็นทั้งการประเมินหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
                ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein and Hunskins, 1998: 320) นิยามว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการหรือชุดของกระบวนการที่บุคคลจัดทำขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตัดสินใจยอมรับ เปลี่ยนแปลงหรือขจัดบางสิ่งบางอย่างในหลักสูต โดยทั่วไปหรือรายละเอียดของตำราการศึกษา
                โอลิวา (Oliva, 2001) นิยามว่าการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการของความยินดี การได้รับและการให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในทางเลือกต่างๆ ทางเลือกในการตัดสินใจเบื้องต้น พิจารณาจากผลการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาหลักสูตร การปรับเปลี่ยนหลักสูตร หรือการยกเลิกหลักสูตร
                สรุปได้ว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพ ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตร รวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.       การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
2.       การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
3.       เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
4.       เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
เบรมเลย์ และนิวบี้ ได้เสนอจุดมุ่งหมายของการประเมินไว้ ดังนี้
1.       ผลย้อนกลับ
2.       การควบคุม
3.       การค้นคว้า
4.       การแทรกแซง
5.       อำนาจการแข่งขัน

ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1.        ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น 
2.        สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3.        ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4.        ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5.        ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6.        ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7.        ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8.        ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9.        ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและ
ขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน



13. การนำหลักสูตรไปใช้ (ต่อ)

วิชัย วงศ์ใหญ่ (2521: 140-141)ได้กล่าวว่า ผู้มีบทบาทในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมาย มีขั้นตอนในการนำหลูกสูตรไปใช้ดังนี้
1)      เตรียมวางแผนงาน
2)      เตรียมจัดอบรม
3)      การจัดครูเข้าสอน
4)      การจัดตารางสอน
5)      การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6)      การประชาสัมพันธ์
7)      การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมหลักสูตร
8)      การจัดโครงการประเมินผล

บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1.       การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2.       การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.       การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

4.       ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ มี 3 กลุ่ม คือ
1)      ผู้บริหาร
2)      ชุมชน
3)      ครู เพราะ ครูมีบทบาทมากที่สุดที่จะต้องศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
1)       การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  คือ  การตีความหมายและกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของเอกสารประกอบหลักสูตร และวัสดุอุปกรณ์การสอน
2)       การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจปัจจัยสนับสนุนและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่าเหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3)       ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำและให้กำลังใจ
ประโยชน์ของการนำหลักสูตรไปใช้

                การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ และเพื่อให้ได้ผลการใช้หลักสูตรที่ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง ผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร เพื่อที่จะนำไปใช้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดมุ่งหมาย

             กล่าวโดยสรุป การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย และเป็นกิจกรรมที่เป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน วิธีการของกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ น่าจะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรมีผู้กล่าวว่า แม้เราจะมีหลักสูตรที่ดีแสนดี แต่ถ้านำหลักสูตรไปใช้อย่างไม่ถูกต้องแล้วหลักสูตรนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจกับการนำหลักสูตรไปใช้ตามบทบาทหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้การใช้หลักสูตรนั้น สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้