วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

4. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา จิตวิทยา สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ (ต่อ)

ด้านจิตวิทยา
การจัดหลักสูตรนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำหลักสูตร จิตวิทยาการเรียนถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของการเรียนรู้ และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ แนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้มี 4 กลุ่ม คือ    1.กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 2.กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism) 3.กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) 4.กลุ่มสร้างสรรค์นิยม (Constructivism)  
โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004: 1) ได้เสนอข้อมูที่ควรรู้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความจำเป็นต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการเสนอ ประกอบด้วย จำนวนผู้เรียน, ทำเล/ที่ตั้งของผู้เรียน, ประสบการณ์ของผู้เรียน, ภูมิหลังของผู้เรียน, ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานที่ต้องการกับระดับทักษะในปัจจุบัน ,ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน ,สิ่งเร้าของผู้เรียน ,แรงจูงใจของผู้เรียน ,ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน และความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ผู้เรียน จะช่วยปรับปรุงผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความจำเป็นของผู้เรียน
กรมวิชาการ และคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า วิธีวิเคราะห์ผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแล้วนำไปจัดกลุ่มผู้เรียนในลักษณะกลุ่มเหมือน หรือกลุ่มคละ หรือกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะในเรื่องทักษะ
           2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ระเบียนสะสม แฟ้มผลงาน บันทึกสุขภาพ เป็นต้น
          3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำเสนอให้เห็นองค์รวมของผู้เรียนใน 3 ด้านคือ ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ และวิธีการเรียนรู้
ด้านสังคม
หลักสูตรเป็นเครื่องมือพัฒนาผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้สภาพสังคมปัจจุบันและอนาคตได้ โดยควรศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5 ยุคคือ 1.ยุคเกษตรกรรม 2.ยุคอุตสาหกรรม       3.ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล 4.ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้ 5. ยุคปัญญาประดิษฐ์ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างครือข่ายหรือความร่วมมือกับชุมชน สามารถรวบรวมข้อมูลได้โดยการศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์ สอบถาม หรือ สำรวจข้อมูล
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับสังคมและความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรจะต้องมีเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ผู้เรียนตระหนักถึงผลกระทบจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนที่ทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ตพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ 
          1.นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม 
          2.ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
ด้านเศรษฐกิจ
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การศึกษาผลิตกำลังบุคลากรในด้านต่างๆอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ 
2. การพัฒนาอาชีพ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
3. พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจริงของสังคม
6. การลงทุนทางการศึกษา คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าในระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น