วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

6. ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ

โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 11)ได้กล่าวว่า ทฤษฏีจะช่วย บอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ,อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ และทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ โบแชมพ์ได้จัดกลุ่มความรู้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1.วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (The natural sciences) 2.สังคมศาสตร์ (The social sciences) 3.มนุษยศาสตร์ (The humanities) ซึ่งทฤษฎีหลักสูตรเป็นสาขาย่อยของวิชาศึกษาศาสตร์ แบ่งออกเป็น
1.       ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) เกี่ยวข้องกับการจัดระบบระเบียบที่เป็นพื้นฐานของการวางแผนหลักสูตร
2.       ทฤษฏีวิศวกรรมหลักสูตร (Curriculum Engineering) เกี่ยวข้องกันกิจกรรมในการพัฒนาหลักสูตร
ออร์นสไตน์ และฮันกิน (Ornstien A.C. & Hunkins F.P., 2004) ได้กล่าวว่า ทฤษฏีหลักสูตร หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตร โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตร และเป็นแนวทางในการศึกษา การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร และ เฮิบเนอร์ (Dwayne Huebner, 1968)   ได้สรุปว่า ทฤษฏีหลักสูตรทำหน้าที่ 6 ประการ คือ 1. การบรรยาย(Descriptive) 2.การอธิบาย (Explanatory) 3.การควบคุม (Controlling) 4.มีสิทธิตามกฎหมาย (Legitimizing) 5.แนะนำ/กำหนดให้ (Prescriptive) 6.การเข้าเป็นสมาชิก (Affiliative) 
แมคไซส์ (Maccias, 1963)ได้บางทฤษฏีหลักสูตรออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.       ทฤษฏีหลักสูตรแบบทางการ (Formal Theory) กล่าวถึงหลักการและกฎเกณฑ์ และโครงสร้างหลักสูตรโดยทั่วไป
2.       ทฤษฎีสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลักสูตร (Event theory) เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในหลักสูตร
3.       ทฤษฏีการประเมินค่าหลักสูตร (Valuation theory) อธิบายความเหมาะสมของหลักสูตร
4.       ทฤษฎีการกระทำของมนุษย์ (Praxiological Theory) ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และพฤติกรรมที่ตามมา

การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้โดยนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตร แนวคิดที่นำมาใช้มนการพัฒนาหลักสูตร คือ แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific management) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต (Product approach) หลักสูตรในรูปแบบนี้มีฐานคิดสำคัญของแบบจำลองการขับเคลื่อนผลการเรียนรู้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น