วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

7. ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ (ต่อ)

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แบบจำลองของไทเลอร์ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร มีขั้นตอนดังนี้
1. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน, โรงเรียน ,สังคม และเนื้อหาวิชา
: จากแบบสอบถาม หรือทดสอบผู้เรียน เป็นต้น
2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อประเมินความจำเป็น
: นำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีเหตุผล
3. กำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรฉบับร่าง
: โดยต้องจัดการศึกษามุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ผู้สอนควรนำปรัชญาด้านสังคมและปรัชญาการศึกษามาพิจารณา ดังนี้
1)      ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคนเป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์
2)      โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3)      ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล
4)      ความเชื่อและสติปัญญามากจากความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าอำนาจ
4. นำมากลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษา และจิตวิทยาการเรียนรู้: เพื่อช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้
1)      ความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2)      ความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้
3)      ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการบรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุ
5. กำหนดวัตถุประสงค์ที่แท้จริง: ไทเลอร์ได้ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้, การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
เป็นการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดอุปนัย ทาบาเชื่อว่าออกแบบหลักสูตรจะต้องดำเนินการโดยครูผู้สอน มีขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์ความจำเป็น
2. กำหนดวัตถุประสงค์
3. เลือกเนื้อหาสาระ
4. จัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
5. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้
6. จัดการเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้
7. เลือกว่าจะประเมินอะไรและวิธีประเมิน
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงศ์ใหญ่
                ประกอบไปด้วย 3 ระบบ คือ ระบบการร่างหลักสูตร, ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และ ระบบการประเมินหลักสูตร ซึ่งจะสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน มีขั้นตอนดังนี้
1. นำข้อมูลมากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการ โครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร
2.  นำเนื้อหาสาระมากำหนดผลการเรียนรู้และวางแผนการสอน
3. ทดลองใช้หลักสูตรและแก้ไขข้อบกพร่อง
4. อบรมบุคลากรให้เข้าใจหลักสูตร
5.  ปฏิบัติการสอน โดยนำหลักสูตรไปใช้

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model
                หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีพื้นฐานจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม มุ่งให้ความรู้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนเป็นคนดี และสังคมเป็นสุข โดยจะประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผนหลักสูตร (Curriculum planning): สอดคล้องกับคำถามข้อที่ 1 ของไทเลอร์ คือ จุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา หลักสูตรต้องมีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร
2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design): สอดคล้องกับคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ คือ ประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายการศึกษา เป็นการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาทำกรอบปฏิบัติ การออกแบบหลักสูตรมีเพื่อให้มีการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองต่อจุดหมาย และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. การจัดหลักสูตร (Curriculum organization): สอดคล้องกับคำถามข้อที่ 3 ของไทเลอร์ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
4. การประเมินหลักสูตร (Curriculum evaluation): สอดคล้องกับคำถามข้อที่ 4 ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร

            การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model
เป้าหมายของหลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน (Learner) ก็คือมุ่งให้เป็นคนดี และเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งสังคม (Social) ก็มุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม SU Model ถือเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร มีขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม ที่มีความหมายถึง โลกแห่งการศึกษา และเขียนสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเว้นรอบวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัฒนาหลักสูตร โดยให้มุมบนแสดงหลักสูตรที่เน้นความรู้ (Knowledge) มุมล่างซ้ายแสดงหลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (Learner) และมุมล่างขวาแสดงหลักสูตรที่เน้นสังคม (Social)
2. ระบุพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ด้าสามเหลี่ยมระหว่างความรู้และผู้เรียน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านระหว่างผู้เรียนกับสังคม คือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านระหว่างสังคมกับความรู้ คือ พื้นฐานด้านสังคม
3. พื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ มีแนวคิดจากปรัชญาสารัตถนิยม และนิรันดรนิยม หลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน มาจากปรัชญาอัตถิภาวะนิยม และหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม มาจากปรัชญาปฏิรูปนิยม
4. กำหนดจุดกึ่งกลางสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน แทนความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานอย่างน้อยสามด้านนี้  แล้วลากเส้นระหว่างจุดทั้งสามนี้จะได้สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 รูป
5. กำหนดชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปนี้ ตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร คือ 1) การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) 2) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) 3) การจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) 4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)

          แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งมีพื้นฐานตากปรัชญาพิพัฒนาการ ที่เชื่อว่า สาระสำคัญและความเป็นจริงไม่หยุดนิ่ง แต่จะเปลี่ยนไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การศึกษาจึงต้องเปลี่ยนและปรับปรุงให้สอดคล้องกับเวลาและสภาพแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น