วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

15. การประเมินผลหลักสูตร : แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ (ต่อ)

การประเมินหลักสูตร มี 3 ระยะ ดังนี้
1.       การประเมินหลลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้
เพื่อทบทวนว่าหลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีคุณค่า แล้วจึงพิจารณาความพร้อมในการนำหลักสูตรไปใช้ จากเอกสาร สื่อและอุปกรณ์ โดนมีขั้นตอนดังนี้
1)        กำหนดจุดมุ่งหมายการประเมินหลักสูตร
2)        วางแผนดำเนินการประเมิน
3)        ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง
4)        ประเมินผลจากการทดลองใช้ และนำผลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงหลักสูตรก่อนนำไปใช้จริง
2.       การประเมินหลักสูตรระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร
ให้ความสำคัญกับ ระบบบริหารจัดการหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน โดยศึกษาข้อมูลจากการวางแผนการประเมินก่อนการใช้หลักสูตร เพื่อจัดระบบบริหารจัดการหลักสูตร รวมถึงนิเทศกำกับติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร วิชัย วงศ์ใหญ่ เสนอแนวคิดการประเมินไว้ ดังนี้
1)       การประเมินระบบบริหารและการจัดการหลักสูตร
2)       การประเมินการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3)       การประเมินระบบบริหารและวิธีการนิเทศกำกับดูแล
3.       การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้
เป็นการประเมินระบบหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อน โดยจะประเมินทุกๆองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างละเอียด ทั้งนี้เพื่อประเมินว่าหลักสูตรดีจริง สามารถนำไปใช้ได้จริง มีข้อผิดพลาดและต้องแก้ไข ถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมและสมบูรณ์มากที่สุด

แบบจำลองในการประเมินหลักสูตร
      แบบจำลองการประเมินแบบ CIPP
        สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam, 1985) ได้เสนอแนวทางการประเมินโครงการ เพื่อการตัดสินใจดำเนินการ หรือยุติโครงการ โดยแบ่งออกเป็นประเด็น ดังต่อไปนี้
1)       การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation: C)
พิจารณา หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ การกำหนดประเด็นปัญญา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ
2)       การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I)
พิจารณาการเลือกแผนงาน โครงการ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและความพอเพียงของทรัพยากร
3)       การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P)
พิจารณาข้อดีและข้อด้อย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขและปรับปรุง เป็นการตรวจสอบกิจกรรม โครงการ ทรัพยากรที่ใช้ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของโครงการ โดยมีการบันทึกเป็นหลักฐานในทุกขั้นตอน
4)       กาประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P)
พิจารณาเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น






การประเมินการเรียนรู้

เป็นการวัดและประเมินผลการเรียน หรือประเมินการปฏิบัติ มุ่งไปที่การประเมินศักยภาพและบุคลิกภาพของผู้เรียนอันเป็นผลจากการใช้หลักสูตร โดยจะให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่สำคัญต่อการพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนและพัฒนาตัวผู้เรียนเองได้
การกำหนดเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้โดยใช้ The SOLO Taxonomy
เสนอโดย Biggs และ Collis โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ The SOLO Taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน ซึ่งจะไม่เน้นที่ผลงานเท่านั้น แต่ยังเน้นที่วิธีการเรียนรู้ด้วย
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดย Biggs และ Collis ได้เสนอวิธีการดังนี้
1)       กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
2)       ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เหมาะสมกับแต่ละระดับ
·         ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Pre-structural) ไม่มีการจัดระเบียบข้อมูล ความหมายโดยรวมของข้อมูลยังไม่ปรากฎ
·         ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน แต่ไม่แสเดงความหมายเกี่ยวโยงของข้อมูล
·         ระดับโครงสร้างหลากลหาย (Multi-structural) มีการเชื่อมโยงข้อมูล แต่ความหมายของความสัมพนัธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงข้อมูลไม่ปรากฎ
·         ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมได้
·         ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากข้อมูลที่ได้รับ สามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่างได้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy เป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
SOLO 0: ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ไม่สำเร็จ พลาด ล้มเหลว
SOLO 1: ระบุ บอกชื่อ ปฏิบัติตามขั้นตอนง่าย ๆ  
SOLO 2: รวมกัน อธิบาย บรรยาย ยกตัวอย่าง เชื่อมโยง 
SOLO 3: วิเคราะห์ ประยุกต์ อธิบายเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ 
SOLO 4: สร้างสรรค์ สรุปอ้างอิง ตั้งสมมติฐาน สะท้อนทฤษฎี  

โดย SOLO1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้ ความเข้าใจ และนำไปใช้ (เชิงปริมาณ) และ SOLO3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า (เชิงคุณภาพ)

1 ความคิดเห็น:

  1. Mohegan Sun: Now Open! | Ocremo Casino Resort
    Welcome 샌즈 to Mohegan Sun! Our open casino is 제목학원 open 24 hours a day, seven days a week. The 스포츠 분석 사이트 casino is 아프리카 영정 1 open seven 강원 랜드 후기 days a week, seven days a week.

    ตอบลบ