วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

3. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา จิตวิทยา สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรแบ่งออกเป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้
ด้านปรัชญา
ปรัชญาถูกนำมาใช้ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาสาระ และนำมาจัดหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพ ปรัชญาและการศึกษามีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาลเพื่อหาความจริงอันเป็นที่สุด ส่วนการศึกษามุ่งเน้นศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ กฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางจัดการศึกษา เพื่อเป็นหลักดำเนินการทางการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย และปรัชญาการศึกษายังพยายามวิเคราะห์ปัญหาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา ปรัชญาการศึกษาจึงเป็นเหมือนเข็มทิศ
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านความรู้ (Knowledge – K)
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) แต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ เจตคติ อุดมการณ์ ที่เป็นแกนกลางหรือเป็นหลัก การศึกษาควรมุ่งถ่ายทอดความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาต่างๆที่ยึดถือเป็นอมตะ อบรมให้มนุษย์มีความคิดเห็น  ผู้เรียนจะไม่ได้เลือกเรียนตามใจชอบ เพราะถือว่า ความรู้ ความจริง และวัฒนธรรมของสังคมนั้นได้รับการเลือกสรรแล้วอย่างเหมาะสม หลักสูตรจะยึดเนื้อหาเป็นสำคัญ วิชาพื้นฐานได้แก่ ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับค่านิยมและวัฒนธรรม เป็นแนวทางสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม
ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม (Perenialism) มีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถทางการคิดละใช้เหตุผล จึงควรจัดการศึกษาให้เน้นการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและการใช้เหตุผล เนื้อหาที่เรียนจึงเกี่ยวข้องกับความคิดและเหตุผล และเป็นกระบวนการที่จะพัฒนาคุณธรรมทางพุทธิปัญญาให้แก่ผู้เรียน โดยเน้นให้อภิปราย การให้เหตุผล การโต้แย้งกัน หลักสูตรจะเน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปะทางภาษา และกลุ่มศิลปะการคำนวณ
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านผู้เรียน (Learner – L)
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องมีเสรีภาพที่จะเลือกแนวทางที่ปรารถนา ผู้เรียนควรเรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะสมกับวัยละทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมปัจจุบัน หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม การศึกษามีความสำคัญในงาของวิธีการนำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาในบทเรียนและนำมาแก้ไขปัญหาในชีวิจประจำวันได้
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านสังคม (Social – S)
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม มีแนวคิดว่าผู้เรียนไม่ได้เรียนเพื่อตนเองเท่านั้น  แต่เรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมด้วย การศึกษาจึงมีบทบาทในการสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงาม เนื้อหาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัยหาและสภาพสังคม โดยจะเน้นที่วิชาสังคมศึกษา เพื่อให้เข้าใจกลไกของสังคม เน้นการพัฒนาปรับปรุงสังคม โดยมีความเชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น