วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

14. การประเมินผลหลักสูตร : แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ

การประเมินหลักสูตร
จากคำถามของไทเลอร์ข้อที่ 4 คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์การเรียนรู้ทำอย่างไร นำไปสู่แนวคิดความคิดเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรว่า เป็นทั้งการประเมินหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
                ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein and Hunskins, 1998: 320) นิยามว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการหรือชุดของกระบวนการที่บุคคลจัดทำขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตัดสินใจยอมรับ เปลี่ยนแปลงหรือขจัดบางสิ่งบางอย่างในหลักสูต โดยทั่วไปหรือรายละเอียดของตำราการศึกษา
                โอลิวา (Oliva, 2001) นิยามว่าการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการของความยินดี การได้รับและการให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในทางเลือกต่างๆ ทางเลือกในการตัดสินใจเบื้องต้น พิจารณาจากผลการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาหลักสูตร การปรับเปลี่ยนหลักสูตร หรือการยกเลิกหลักสูตร
                สรุปได้ว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพ ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตร รวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.       การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ
2.       การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน
3.       เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา
4.       เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
เบรมเลย์ และนิวบี้ ได้เสนอจุดมุ่งหมายของการประเมินไว้ ดังนี้
1.       ผลย้อนกลับ
2.       การควบคุม
3.       การค้นคว้า
4.       การแทรกแซง
5.       อำนาจการแข่งขัน

ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1.        ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น 
2.        สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3.        ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4.        ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5.        ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6.        ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7.        ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8.        ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
9.        ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและ
ขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น