วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

1. ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร และพัฒนาการของหลักสูตร

นักการศึกษาได้ให้นิยามของหลักสูตรแตกต่างกันออกไป เช่น
วิชัย วงศ์ใหญ่ (2554: 95) กล่าวว่า หลักสูตร (curriculum) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “race – course” หมายถึงเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เนื่องจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำวเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งอนาคต และในปัจจุลันความหมายของหลักสูตร หมายถึง มวลปนะสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทาบา (Taba, 1962 : 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุ เป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนและปรับปรุงหลักสูตรอัเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมายการจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและกระเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
กล่าวโดยสรุป หลักสูตร (Curriculum) หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ โดยจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1) หลักสูตรเป็นผลผลิตในรูปแบบเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือมัลติมีเดีย เป็นต้น
2) หลักสูตรเป็นโปรแรกมการศึกษา โดยปกติเขียนในรูปแบบหลักสูตรรายวิชา การจัดลำดับของมาตรฐานในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
3) หลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อการเรียนรู้ จะบอกจุดหมาย เนื้อหาสาระ มโนทัศน์ หลักการทั่วไป และผลการเรียนรู้
4)หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน มีกิจกรรม ทั้งที่มีการวางแผนและไม่ได้วางแผน
5)หลักสูตรแฝง ไม่ได้เป็นรูปแบบหลักสูตรโดยตรง แต่จะเป็นสิ่งใดหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้เรียนเรียนรู้ที่ไม่ได้วางแผนไว้ หรือถึงแม้จะไม่ได้เป็นความคาดหวังไว้แต่เป็นไปได้ 
        ปริ้น (Print, 1993: 110) ได้แสดงความเห็นว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวิชาชีพครู การศึกษาทางด้านหลักสูตรเป็นส่วนหนึ่งของโปรแรกมการศึกษาวิชาชีพครู ดังนั้น ครูจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและมีความเข้าใจในกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร เมื่อิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับหลักสูตร มีคำถามพื้นฐานที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1) สอนอะไร 2) สอนอย่างไร 3) สอนเมื่อไหร่ 4) อะที่เป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาอันเป็นผลจากการสอน
สันต์ ธรรมบำรุง  (2527 : 9 - 10) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ว่า
1)      หลักสูตรเป็นแผนปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมายเนื้อหาสาระการจัดกิจกรรมการเรียน     การสอน และการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
2)     หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนรวมของประเทศเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตาม          แผนการศึกษาแห่งชาติ
3)     หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการเป็นบัญญัติของทางรัฐบาล เพื่อให้บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา    ปฏิบัติตาม
4)     หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา  เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ และยัง  เป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ฯลฯ ของการ  ศึกษาของรัฐให้แก่สถานศึกษาของรัฐบาลด้วย
5)     หลักสูตรเป็นแผนดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษาที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุมดูแลติดตามผลให้เป็น  ไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลด้วย
6)     หลักสูตรจะกำหนดแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงาม และพัฒนาการของเด็กตามจุดหมายของการ  ศึกษา
7)     หลักสูตรจะกำหนดลักษณะและรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่าจะเป็นไปในรูปใด
8)     หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะและความสามารถความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอัน  เป็นการพัฒนากำลังคน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติที่ได้ผล
9)     หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศใด  จัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงย่อมได้  กำลังคนที่มีประสิทธิภาพสูง
ประเภทของหลักสูตร มีดังนี้
1)      หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหา (The Subject Matter Curriculum)
อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง (Subject-Centered-Curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสอนของครูที่ใช้วิธีการ บรรยาย ปรัชญาการจัดการศึกษาแนวนี้จะยึดปรัชญาสารัตถนิยม(Essentialism) และสัจวิทยา(Perennialism)
2)      หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)
เป็นหลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่จะนำเอาเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมกันและกันมาเชื่อมโยง แล้วจัดสอนเป็นเนื้อหาเดียวกัน โดยอาศัยหลักความคิดของนักการศึกษาที่ว่า การที่จะเรียนรู้สิ่งใดให้ได้ดีผู้เรียนต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนกับสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นหลักสูตรสหสัมพันธ์จะกำหนดเนื้อวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาที่สัมพันธ์กันมารวมไว้ด้วยกัน
3)      หลักสูตรแบบผสมผสาน (Fused Curriculum or Fusion Curriculum)
หลักสูตรแบบผสมผสานเป็นหลักสูตรที่พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของหลักสูตรเนื้อหาวิชา ดังนั้น หลักสูตรแบบผสมผสานคือหลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการรวมเอาวิชาย่อย ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาผสมผสานกันในด้านเนื้อหาเข้าเป็นหมวดหมู่
4)      หลักสูตรแบบหมวดวิชาแบบกว้าง (Broad Fields Curriculum)
หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างหรือหลักสูตรรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่พยายามจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา ซึ่งขาดการผสมผสานของความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่มีการประสานสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น
5)      หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum)
หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรที่ผ่านมาด้วยการรวบรวมความรู้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดกิจกรรมต่าง ๆ การจัดหลักสูตรแบบนี้ได้ยึดเอาสังคมและชีวิตจริงของเด็กเป็นหลัก เพื่อผู้เรียนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับชีวิตจริงของผู้เรียนหรือภาวะทางสังคมที่ผู้เรียนกำลังประสบอยู่ หลักการจัดหลักสูตรประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของจอห์น ดิวอี้ กับปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม และปรัชญาการศึกษาสาขาปฏิรูปนิยม
6)      หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum)
หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะแก้ไขการเรียนรู้แบบครูเป็นผู้สอนเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งเป็นข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา หลักสูตรนี้ยึดประสบการณ์ และกิจกรรมเป็นหลักมุ่งส่งเสริมการเรียนการสอนโดยวิธีการแก้ปัญหา ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยการลงมือกระทำ ลงมือวางแผน เพื่อหาประสบการณ์อันเกิดจากการแก้ปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนแบบการเรียนรู้ด้วยการกระทำ ( Learning by Doing)
7)      หลักสูตรแบบแกน (Core Curriculum)
หลักสูตรแบบแกนเป็นหลักสูตรที่ประสานสัมพันธ์เนื้อหาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันมุ่งที่จะสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning สิ่งที่เรียนจะมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์และชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงชีวิตความเป็นอยู่มาสัมพันธ์กับการเรียนรู้ได้ เป็นหลักสูตรที่ยึดปรัชญาปฏิรูปนิยม
8)      หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชา แล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์ เป็นการบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องอันมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต
หลักสูตรของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ. 2503 เพื่อให้การศึกษาพัฒนาสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเน้นที่ จริยศึกษา พลศึกษา พุทธิศึกษา และ หัตถศึกษา และเริ่มมีหลักสูตรประถมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2521 ต่อมามีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งเน้นให้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ และคุณธรรม สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และต่อมีการแก้ไขเป็น พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545 จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542ได้กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยการจัดการศึกษามุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ให้ความสำคัญต่อความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม โดยแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ต่อมาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                              ฉบับที่  10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  และนำไปสู่การประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปี สำหรับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1- ม.3) และตัวชี้วัดช่วงชั้นสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4-6 ) และกำหนดกิจกรรมผู้เรียน เป็น 3 ลักษณะดังนี้  1. กิจกรรมแนะแนว  2. กิจกรรมนักเรียน  3. กิจกรรมเพื่อนสังคมและสาธารณประโยชน์  อย่างไรก็ตาม หลักสูตรจำเป็นต้องมีการพัฒนาและตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับสังคมแต่ละยุคสมัย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น